ต่อภาษี รถยนต์ รถจักรยานยนต์ 2566
กฎหมายบังคับให้ผู้ใช้ประโยชน์จากรถ ที่จดทะเบียนกับกรมขนส่งทางบกทุกคัน มีหน้าที่เสียภาษีรถทุกปี
ทำไมหน้าที่เสียภาษีจึงใช้คำว่า ผู้ใช้ประโยชน์จากรถ บางคนคิดว่าเป็นหน้าที่ของ เจ้าของรถ ที่จะต้องเสียภาษีรถคันนั้น เคยมีคดีฟ้องร้องกัน ผู้ฟ้องอ้างว่า ตัวเองซื้อรถเงินผ่อน กรรมสิทธิ์ยังเป็นของไฟแนนซ์ เท่ากับว่าระหว่างที่ตนผ่อนชำระอยู่ ไฟแนนซ์ยังคงเป็นเจ้าของรถคันนั้นอยู่ ไฟแนนซ์ต้องเสียภาษีรถ จนกว่าเขาจะผ่อนครบ ไฟแนนซ์โอนคืนกรรมสิทธิ์ให้เขาแล้ว เขาถึงจะเสียภาษีรถคันนี้
คดีนี้สู้กันถึง ฎีกา ศาลตัดสิน ยกฟ้อง เพราะถึงผู้ฟ้องจะยังไม่ได้เป็นเจ้าของรถอย่างสมบูรณ์ แต่ผู้ฟ้องใช้ประโยชน์จากรถคันนี้ จึงมีหน้าที่เสียภาษีรถคันนี้ ไฟแนนซ์เป็นเจ้าของรถในนาม ตามสัญญาเช่าซื้อเท่านั้น
บางคนผ่อนรถมอเตอร์ไซค์ ส่งค่างวดอย่างเดียว จ่ายตรงบ้าง ไม่ตรงบ้าง แต่ไม่เคยเสียภาษีเลย ผ่อนจนครบ จะโอนแล้ว โอนไม่ได้!! ขาดต่อภาษีเกิน 3 ปี ทะเบียนถูกระงับ ต้องเสียเงินเพิ่ม เอารถไปตรวจ เอาทะเบียนเก่าไปคืน เพื่อจดทะเบียนใหม่ ยุ่งยากมาก
ไม่เสียภาษี รถยนต์ มีโทษอะไรบ้าง?
- ค่าปรับจราจร ใช้รถที่ไม่ชำระภาษี ปรับไม่เกิน 2,000 บาท
- ค่าปรับเสียภาษีล่าช้า 1%ของยอดภาษี ต่อเดือน
- ต่อภาษีล่าช้าเกิน 1 ปี ต้องตรวจสภาพรถก่อนต่อภาษี
- ขาดต่อภาษีเกิน 3 ปี ทะเบียนถูกระงับ ต้องขอจดทะเบียนใหม่
ภาษีเป็นรายได้ของรัฐ ต่อช้าหรือค้างต่อภาษี ไม่มียกยอดให้ ต่อภาษีเมื่อไหร่ เก็บย้อนหลังที่ค้างๆไว้ทั้งหมดรวมของใหม่ บวกค่าปรับล่าช้าด้วย เช่น
ขาดต่อภาษี 2 ปี 11 เดือน ก็ต้องเสียภาษีที่ค้างอยู่ 2 ปี รวมกับภาษีปีนี้ รวมเป็น 3 ปีพร้อมค่าปรับอีก 2 ปี 11 เดือนรวมเป็น 35 เดือน เดือนละ 1% รวมค่าปรับชำระล่าช้าเป็น 35%ของยอดภาษีต่อปีโดยประมาณ
จะเห็นได้ว่าถึงอย่างไร ก็ยังต้องเสียภาษีอยู่ดี ยิ่งเสียช้า ยิ่งเสียเยอะ แถมมีโอกาสเสียค่าปรับจราจร ไม่เกิน 2,000 บาท ได้ตลอดเวลาอีก
ภาษีรถ กับ ภาษีรายได้บุคคลธรรมดา ต่างกันอย่างไร?
ภาษีรถ เป็นภาษีเก็บล่วงหน้า คือ เก็บภาษีก่อนใช้งาน รถจดทะเบียน 1 มกราคม 2564 จะได้ป้ายภาษี 1 มกราคม 2565 สามารถต่อภาษีล่วงหน้าได้ 90 วันหรือ 3 เดือน ต่อเร็วต่อช้า จะเป็น 1 มกราคม ตลอดเปลี่ยนแค่ปีพ.ศ.เท่านั้น
ภาษีรายได้ ครบปีแล้ว ถึงมาดูว่าเรามีรายได้เท่าไหร่ในปีที่ผ่านมา เอายอดนั้นไปคิดภาษี แล้วยื่นเสียภาษีรายได้ เช่น มีนาคม 2566 ยื่นเสียภาษีรายได้ปี 2565 รับรายได้มาก่อน เสียภาษีภายหลัง ตรงข้ามกับภาษีรถ
สรุปง่ายคือ
ภาษีรถ เสียภาษี ก่อนใช้งาน
ภาษีรายได้ มีรายได้ก่อน เสียภาษีทีหลัง
การนับปีอายุรถ ว่าต้องตรวจสภาพรถก่อนต่อภาษี หรือไม่?
การนับปีอายุรถ ให้นับปีที่จดทะเบียนเป็นปีที่ 1 เช่น จดทะเบียนรถ 1 มกราคม 2561
รถจักยานยนต์ ต้องนำรถไปตรวจสถาพ ปี 2565 จะได้ป้ายภาษี 1 ม.ค 2566
รถยนต์ ต้องนำรถไปตรวจสภาพ ปี 2567 จะได้ป้ายภาษี 1 ม.ค 2568
ต่อภาษี ใช้เอกสารอะไรบ้าง?
รถจักรยานยนต์/มอเตอร์ไซค์
1.เล่มจดทะเบียนรถ หรือสำเนาฯ กรณียังผ่อนไฟแนนซ์
2.ส่วนท้ายพ.ร.บ. มีความคุ้มครองอย่างน้อย 90 วัน
3.ใบตรวจสภาพรถจากตรอ. (กรณีขาดต่อภาษีเกิน 1 ปีหรืออายุรถเกิน 5 ปี)
รถยนต์
1.เล่มจดทะเบียนรถ หรือสำเนาฯ กรณียังผ่อนไฟแนนซ์
2.ส่วนท้ายพ.ร.บ. มีความคุ้มครองอย่างน้อย 90 วัน
3.ใบตรวจสภาพรถจากตรอ. (กรณีขาดต่อภาษีเกิน 1 ปีหรืออายุรถเกิน 7 ปี)
รถยนต์ใช้พลังงานธรรมชาติ NGV/CNG
1.เล่มจดทะเบียนรถ หรือสำเนาฯ กรณียังผ่อนไฟแนนซ์
2.ส่วนท้ายพ.ร.บ. มีความคุ้มครองอย่างน้อย 90 วัน
3.ใบตรวจสภาพรถจากตรอ. (กรณีขาดต่อภาษีเกิน 1 ปีหรืออายุรถเกิน 7 ปี)
4.รถใช้พลังงานธรรมชาติ ต้องใบตรวจสภาพถัง และระบบแก๊ส
ระยะเวลาการตรวจเช็คระบบแก๊สตามกรมการขนส่งทางบกกำหนด
ถัง LPG ควรตรวจสอบระบบบรรจุก๊าซทุก 5 ปี
ระบบ NGV/CNG ควรตรวจทุก 1 ปี
ระยะเวลาการตรวจเช็คถังแก๊สตามกรมการขนส่งทางบกกำหนด
แก๊สระบบ LPG ทุก 10 ปี
NGV ทุก 5 ปี
ขั้นตอนการดำเนินการ
1. นำรถเข้ารับการตรวจสภาพ ณ งานตรวจสภาพรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดหรือสาขา เพื่อรับใบรับรองการตรวจสภาพรถ ประกอบการเสียภาษี
2. ชำระเงินค่าภาษีรถ
3. บันทึกรายการค่าภาษีรถ
4. รับเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี และหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถคืน
หมายเหตุ
กรณีการต่ออายุและชำระภาษีรถจะใช้หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ หรือสำเนาหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถแทนก็ได้
กรณีเจ้าของรถขนส่งส่วนบุคคล สามารถต่อภาษี ณ สำนักงานขนส่งที่จดทะเบียน หรือสำนักงานส่งจังหวัดอื่นได้
ต่อภาษีออนไลน์
เสียภาษีรถออนไลน์ คือ การเสียภาษีผ่านอินเตอร์เน็ต ทำรายการผ่านเว็บไซต์ของกรมขนส่ง รถที่สามารถเสียภาษีออนไลน์ ได้แก่
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน
- รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล
- รถจักรยานยนต์
โดยรถที่ต้องตรวจสภาพก่อนเสียภาษี ก็สามารถต่อภาษีออนไลน์ได้ เพียงนำรถไปตรวจสภาพที่ตรอ.ให้เรียบร้อย รถที่ต้องตรวจภาพก่อนเสียภาษี ได้แก่
- รถจักรยานยนต์ หรือมอเตอร์ไซค์ อายุรถเกิน 5 ปี
- รถยนต์ อายุรถเกิน 7 ปี
- รถที่เสียภาษีล่าช้าเกิน 1 ปี เช่น ออกรถป้ายแดงวันที่ 01/01/64 แล้วไม่ได้เสียปี 65 มาเสียภาษีวันที่ 02/01/66 ต้องตรวจสภาพรถก่อนเสียภาษี
#ค่าตรวจสภาพรถ
โดย สถานตรวจสภาพรถเอกชน เรียกกันว่า ตรอ.
- รถจักรยานยนต์ หรือมอเตอร์ไซค์ คันละ 60 บาท
- รถยนต์น้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน 1,600 กิโลกรัม คันละ 150 บาท
- รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าเกิน 1,600 กิโลกรัม คันละ 250 บาท
ต่อภาษีรถยนต์ อายุรถเกิน 7 ปี รถมอเตอร์ไซค์ อายุรถเกิน 5 ปี
รถจักยานยนต์ อายุเกิน 5 ปี รถยนต์อายุเกิน 7 ปี ต้องตรวจสภาพรถก่อนเสียภาษี สามารถเสียภาษีออนไลน์ได้แล้ว !! มีขั้นตอนดังนี้
นำรถไปตรวจสภาพรถที่ตรอ.
เข้าเว็บไซด์ของกรมขนส่ง https://eservice.dlt.go.th/esvapp/login.jsf
คู่มือการใช้บริการ https://eservice.dlt.go.th/esvapp/pdf/UserGuideTax.pdf
วิธีการยื่นชำระภาษีรถยนต์ผ่านอินเตอร์เน็ตมีขั้นตอน ดังนี้
– เว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th
– ลงทะเบียนเพื่อขอรับรหัสผ่าน (สำหรับสมาชิกใหม่)
– Log-in เข้าสู่ระบบ
– ยื่นชำระภาษีรถยนต์ประจำปี ที่เมนู “ยื่นชำระภาษีรถยนต์ประจำปี”
– กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับรถ เพื่อลงทะเบียนรถ แล้วยื่นชำระภาษี
– กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับหลักฐานการเอาประกัน ตามพ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535
(กรณี พ.ร.บ. ที่มีความคุ้มครองมากกว่า 3 เดือน) หรือสามารถซื้อพ.ร.บ. ได้จากระบบ
– เลือกช่องทางการชำระเงินเพียง 1 ช่องทาง ได้แก่
- ชำระเงินโดยหักบัญชีเงินฝาก (ต้องมีบัญชีเงินฝากและเป็นสมาชิกใช้บริการโอนเงินผ่านระบบ
อินเตอร์เน็ตกับธนาคาร/สถาบันการเงิน)
- ชำระเงินโดยบัตรเครดิต/บัตรเดบิต (เป็นผู้ถือบัตรเครดิต/บัตรเดบิต ที่มีสัญลักษณ์ VISA , Master Card)
โดยธนาคารกรุงศรีอยุธยาและธนาคารกรุงเทพ เป็นผู้ให้บริการรับตัดบัตร
- ชำระเงินโดยพิมพ์ใบแจ้งชำระภาษีรถแล้วนำไปชำระเงิน ณ เคาน์เตอร์ ตู้ ATM หรือ Application
ของธนาคาร/สถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ
– กรณีชำระเงินยังไม่สำเร็จ/ยังไม่ได้ชำระเงิน สามารถเปลี่ยนช่องทางการชำระเงิน ได้ที่เมนู “ตรวจสอบผล
การชำระภาษี/เปลี่ยนช่องทางชำระเงิน”
– สามารถตรวจสอบสถานะการดำเนินการยื่นชำระภาษี สถานะการจัดส่งเอกสาร หมายเลข EMS เลข
กรมธรรม์ หรือปัญหาจากการยื่นชำระ ได้ที่เมนู “ตรวจสอบผลการชำระภาษี/เปลี่ยนช่องทางชำระเงิน”
นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบสถานะการชำระเงิน โดยคลิกที่ ปุ่มเครื่องหมายพิมพ์ จะแสดงรายละเอียดการ
ชำระเงินเป็นราย Reference
– กรมการขนส่งทางบก จะจัดส่งใบเสร็จรับเงินเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี และสมุดกรมธรรม์ พ.ร.บ
คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ให้ผู้ชำระเงินทางไปรษณีย์ตามที่อยู่จัดส่งเอกสารที่กรอกผ่านหน้าเว็บไซต์
– เจ้าของรถสามารถนำใบคู่มือจดทะเบียนรถไปปรับบันทึกรายการชำระภาษีได้ ณ สำนักงานขนส่งจังหวัด/
สาขา ทั่วประเทศ
อัตราค่าบริการ ดังนี้
– ค่าจัดส่งเอกสารทางไปรษณีย์ รายการละ 32 บาท(ตั้งแต่วันที่ 15 ม.ค.61 เป็นต้นไป)
– ค่าธรรมเนียมธนาคาร (กรณีชำระผ่านเคาน์เตอร์บริการ หรือหักบัญชีเงินฝาก) รายการละ 20 บาท
– ค่าธรรมเนียมการใช้บัตร (กรณีชำระด้วยบัตรเครดิต) 2% และ VAT 7% ของผลรวมยอดเงินทั้งหมด
พ.ร.บ. วิริยะ ถูกกว่า!! ซื้อหน้าร้าน
พ.ร.บ. รถยนต์วิริยะ ถูกมากกก
เบี้ยหลักร้อย คุ้มครองหลักแสน
รับประกันโดย วิริยะประกันภัย
.
เบี้ยเพียง 599.-/ปี